แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 – 2565) ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
วิสัยทัศน์ (Vision)
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแลว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เศรษฐกิจขยายตัวด้วยการค้าส่งค้าปลีกและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 คนไทยมีศักยภาพและสามารถปรับตัวรองรับบริบทการพัฒนาในอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สังคมไทยมีความเป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำน้อย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เศรษฐกิจและสังคมพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพ ทันสมัย รับผิดชอบ โปร่งใส
ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วม
1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
วิสัยทัศน์ (Vision)
“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง
และยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบและ
ธรรมาภิบาลในสังคมไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
แนวทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตอย่าง
ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ แก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความ
เหลื่อมล้ำทางสังคม
/ยุทธศาสตร์ที่ ๓…
14
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ
หลักภาคกลางและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อ
พัฒนาเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ ของภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านใน
การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและแนวระเบียง
เศรษฐกิจ
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ.2561-2565)
เป้าหมายการพัฒนา : ศูนย์กลางเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ไหม ท่องเที่ยว อารยธรรมขอม และการค้าชายแดน
1. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกษตรอุตสาหกรรมและแปรรูป
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม
และผลิตภัณฑ์ไหม
3. การส่งเสริมและพัฒนาการค้าการลงทุน และการค้าชายแดน
แผนพัฒนาของจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2561–2565)
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์
“ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมเข้มแข็ง”
ประเด็นการพัฒนา
1. ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : ด้านเศรษฐกิจ "เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมกีฬามาตรฐานโลก และการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก
2.เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
1. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 )
2. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 )
3. ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้น(ร้อยละ 10)
4. ร้อยละของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) (ร้อยละ 80)
5. มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 )
6. อัตราการขยายตัวของ GPP ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5)
7. จำนวนพื้นที่การเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐาน อินทรีย์/GAP (ไร่)
/แนวทางการพัฒนา…
15