ประชาสัมพันธ์กฏหมายระดับอนุบัญญัติ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หน้า ๑
เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๙๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กฎกระทรวง
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต และหนังสือรับรองการแจ้ง
ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง
และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. 2563
------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามข้อ ๒ (๒) (๓) (๔) และ (๕) และหนังสือรับรองการแจ้งในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙เป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖3
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หน้า 2
เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๙๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ซึ่งต้องปิดกิจการตามมาตรการสั่งปิดสถานที่ชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมหรือชำระค่าธรรมเนียมล่าช้า ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการ สมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้งให้แก่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ฉบับปรับปรุงแก้ไข ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
แนวทางการปฏิบัติตาม
กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง
ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 พ.ศ. ๒๕๖๓
จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่ปิดกิจการตามมาตรการสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ดังนั้น เพื่อลดภาระ และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการ กระทรวงสาธารณสุขจึงออกกฎกระทรวงฯ นี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๓
ผลการใช้บังคับตามกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้
๑. มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยให้ราชการ ส่วนท้องถิ่นทุกแห่งยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง ให้กับผู้ประกอบกิจการโดยไม่ต้องออกข้อบัญญัติท้องถิ่นอีก และให้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่รับทราบอย่างทั่วถึง และเข้าใจเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการ
๒. ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้งที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ นี้ ได้แก่
2.๑ ใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามประเภทที่มีข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุมภายในท้องถิ่นตามมาตรา ๓๒ (๑) ในลักษณะที่เป็นการค้า
2.๒ ใบอนุญาตจัดตั้งตลาดตามมาตรา ๓๔
2.๓ ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง
2.๔ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดตามมาตรา ๓๘
2.๕ หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่ ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดตามมาตรา ๓๘
ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามมาตรา ๑๙ และค่าบริการเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
๓. แนวทางการปฏิบัติในการยกเว้นค่าธรรมเนียม ดังนี้
3.๑ กรณีการขออนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการรายใหม่ ให้ยึดตามวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต
3.๒ กรณีการขอหนังสือรับรองการแจ้งสำหรับผู้ประกอบกิจการรายใหม่ ให้ยึดตามวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้ง
3.3 กรณีการขอต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการรายเก่า ให้ยึดตามวันสิ้นอายุใบอนุญาต
3.4 กรณีครบกำหนดชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้งสำหรับผู้ประกอบกิจการรายเก่า ให้ยึดวันที่ครบกำหนดชำระค่าธรรมเนียม
3.๕ ราชการส่วนท้องถิ่นทุกแห่งดำเนินการให้ปรากฏหลักฐานการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ นี้ ในเอกสารที่แสดงการอนุญาตหรือรับรองการแจ้ง เช่น บันทึกหรือสลักหลังไว้ในใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง หรือในทะเบียนคุมใบอนุญาตที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด พร้อมจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้ด้วย
จัดทำโดย ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย โทร. ๐ ๒๕๙๐ ๔๒๑๙
หน้า ๒๔
เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข
เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
การเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การ บริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนภาคประชาชน
ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2563
-----------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ และประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อให้กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานบังคับใช้ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗/๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการ สาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการ ผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ 1 ของประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครอง
หน้า ๒5
เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
ส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการ ผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๑ กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี นับแต่วันที่ ได้รับการแต่งตั้ง กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งแล้ว อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ ของประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการ สาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กรรมการ ตามมาตรา 17/1 (3) (4) และมาตรา 17/2 (3) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ได้รับการแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้คณะกรรมการสรรหา ดำเนินการสรรหารายชื่อกรรมการด้านเดียวกันเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการ สาธารณสุขจังหวัด หรือประธานกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เพื่อแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการตำแหน่งที่ว่างลง และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ของกรรมการตำแหน่งนั้น”
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้คณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด หรือคณะกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่และปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปได้”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๔ ของประกาศคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งการเป็นกรรมการผู้ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรี กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนภาคประชาชน ในคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑
หน้า ๒6
เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
“ข้อ ๑๔ ให้ดำเนินการสรรหากรรมการ ตามข้อ 13 ก่อนหมดวาระอย่างน้อยเก้าสิบวัน
หากไม่สามารถสรรหากรรมการตามวรรคหนึ่งได้ทันก่อนที่กรรมการหมดวาระ ให้กรรมการ ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่กรรมการตามวรรคแรกหมดวาระ”
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖3
ศุภกิจ ศิริลักษณ์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข
ประธานกรรมการสาธารณสุข